วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ความนำ
                การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต  เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ  โลกธรรมชาติ (natural world) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทุกคนจึงต้องเรียนรู้เพื่อนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตและการประกอบอาชีพ  เมื่อผู้เรียนได้เรียนวิทยาศาสตร์โดยได้รับการกระตุ้นให้เกิดความตื่นเต้น  ท้าทายกับการเผชิญสถานการณ์หรือปัญหา  มีการร่วมกันคิด ลงมือปฏิบัติจริง  ก็จะเข้าใจและเห็นความเชื่อมโยงของวิทยาศาสตร์กับวิชาอื่นและชีวิต ทำให้สามารถอธิบาย ทำนาย คาดการณ์สิ่งต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล  การประสบความสำเร็จในการเรียน วิทยาศาสตร์จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจมุ่งมั่นที่จะสังเกต  สำรวจตรวจสอบ สืบค้นความรู้ที่มีคุณค่าเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องสอดคล้องกับสภาพจริงในชีวิต  โดยใช้แหล่งเรียนรู้หลากหลายในท้องถิ่น  และคำนึงถึงผู้เรียนที่มีวิธีการเรียนรู้  ความสนใจและความถนัดแตกต่างกัน
                การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน  เป็นการเรียนรู้เพื่อความเข้าใจ ซาบซึ้งและเห็นความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้หลาย  ๆ ด้าน เป็นความรู้แบบองค์รวม  อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ และพัฒนาคุณภาพชีวิต  มีความสามารถในการจัดการ  และร่วมกันดูแลรักษาโลกธรรมชาติอย่างยั่งยืน

วิสัยทัศน์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
                มุ่งพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย  พร้อมใช้สื่อ ICT  ให้ ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการ  เห็นคุณค่า  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์  และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

พันธะกิจ

        .  จัดการศึกษาให้กับผู้เรียนอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
        .  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณภาพด้านคุณธรรมจริยธรรม เห็นคุณค่าความสำคัญของธรรมชาติและ
                สิ่งแวดล้อม
        .  การจัดกิจกรรมการเรียนสอนที่หลากหลาย  โดยเน้นการใช้สื่อ ICT 
        .  ศึกษาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและนอกสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
        ๕. ขอความร่วมมือจากทั้งผู้ปกครอง  องค์กร ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของโรงเรียน



สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ ดังนี้
                . ความสามารถในการสื่อสาร เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร  มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
                . ความสามารถในการคิด เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิด อย่างสร้างสรรค์  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
. ความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ   ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น  ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
                . ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่าง ๆ ไปใช้ใน
การดำเนินชีวิตประจำวัน  การเรียนรู้ด้วยตนเอง   การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
               . ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี  เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม  ในด้านการเรียนรู้  การสื่อสาร การทำงาน  การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม

คุณลักษณะอันพึงประสงค์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข  ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก   ดังนี้
๑.  รักชาติ  ศาสน์ กษัตริย์
๒.  ซื่อสัตย์สุจริต
.  มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
.  มุ่งมั่นในการทำงาน
๗.  รักความเป็นไทย
.  มีจิตสาธารณะ

เป้าหมายของการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ   โดยมนุษย์ใช้กระบวนการสังเกต
สำรวจตรวจสอบ  และการทดลองเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและนำผลมาจัดระบบ  หลักการ  แนวคิดและทฤษฏีดังนั้นการเรียนรู้การสอนวิทยาศาสตร์จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้เรียนและค้นพบด้วยตนเองมากที่สุด  นั่นคือให้ได้ทั้งกระบวนการและองค์ความรู้  ตั้งแต่วัยเริ่มแรกก่อนเข้าเรียน  เมื่ออยู่ในสถานศึกษาและเมื่อออกจากสถาบันศึกษาไปประกอบอาชีพแล้ว
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษามีเป้าหมายสำคัญดังนี้
. เพื่อให้เข้าใจหลักการ  ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานในวิทยาศาสตร์
. เพื่อให้เข้าใจขอบเขต  ธรรมชาติและข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์
. เพื่อให้มีทักษะที่สำคัญในการศึกษาค้นคว้าและคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
. เพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดสมรรถนะสำคัญ ๕ ประการ
. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์และสภาพแวดล้อม
ในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
. เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
และการดำรงชีวิต
. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ให้เป็นคนมีจิตวิทยาศาสตร์  มีคุณธรรม  จริยธรรม  และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
สาระที่    สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว  ๑. ๑              เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของ
ระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐาน ว  ๑.๒              เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสาร สิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๒   ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว ๒. ๑              เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต  ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๒.๒               เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่น ประเทศ และโลกนำความรู้ไปใช้ในในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
สาระที่ ๓   สารและสมบัติของสาร
มาตรฐาน ว ๓. ๑               เข้าใจสมบัติของสาร   ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้างและแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค  มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๓.๒               เข้าใจหลักการและธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร   การเกิดสารละลาย   การเกิดปฏิกิริยา มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๔   แรงและการเคลื่อนที่
มาตรฐาน ว ๔. ๑               เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์   มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม  
มาตรฐาน ว ๔.๒                   เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติมีกระบวนการ    สืบเสาะหา
   ความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๕   พลังงาน
มาตรฐาน ว ๕. ๑               เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต การเปลี่ยนรูปพลังงาน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๖    กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว ๖. ๑               เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
สาระที่ ๗   ดาราศาสตร์และอวกาศ
มาตรฐาน ว ๗. ๑   เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแล็กซีและเอกภพการปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะและผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  การสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
มาตรฐาน ว ๗.๒   เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
สาระที่ ๘    ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาตรฐาน ว ๘. ๑   ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ในการสืบเสาะหาความรู้ การแก้ปัญหา รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้นๆ เข้าใจว่า วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม  มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน


 คลิกอ่านที่เว็ปนี้






.









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น